บทความจากชุมชน

ทำไมถึงเกิดน้ำป่าไหลหลากที่หินลาดใน

ทำไมถึงเกิดน้ำป่าไหลหลากที่หินลาดใน ต้นน้ำหินลาดในเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านที่นี่ป้องกันไฟป่าไม่ให้ไฟลามเข้ามาเป็นเวลาเกือบ 40 ปีติดต่อกัน ป่าจึงมีสภาพที่คล้ายๆฟองน้ำที่สามารถดูดซับปริมาณน้ำได้จำนวนมาก ประกอบกับต้นไม้ต้นใหญ่ๆมีเป็นจำนวนมากจึงสามารถคงเป็นสภาพที่เอื้อต่อการดูดซับน้ำได้อย่างดีตลอดหลายสิบปี เนื่องจากปีนี้ปริมาณน้ำฝนมีจำนวนมากขึ้นเมื่อเทียบจากปีก่อนหน้านี้ ประมาณเที่ยงคืนวันที่ 22 กันยายน 2567 ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักและตกติดต่อกันยาวนานไปจนถึงวันที่ 23 กันยายน 2567 และยังตกต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ (วันที่ 26 กันยายน 2567) จากเหตุที่ฝนตกหนักและนานทำให้ปริมาณน้ำฝนมหาศาลลงมากยังป่าต้นน้ำบ้านหินลาดใน เดิมทีที่แห่งนี้ก็เก็บซับน้ำไว้อยู่แล้วก่อนหน้านี้ประกอบกับฝนได้ตกต่อเนื่องอีกจึงทำให้ปริมาณน้ำเกินมากเกินกว่าที่ป่าแห่งนี้จะรับไหว จึงทำให้ต้นไม้ซึ่งมีน้ำหนักมาก ดินที่อุ้มน้ำจำนวนมาก และอยู่บนลักษณะลาดเอียง ในที่สุดจึงไหลลงมาทั้งดิน น้ำ และต้นไม้ เท่านี้ยังไม่พอยังไหลลงมากั้นทางน้ำอีกพอน้ำถูกกั้นก็สะสมปริมาณมากขึ้นจนทะลักออกมาในลักษณะคล้ายกับเขื่อนที่แตกลงมาจึงปรากฏภาพอย่างที่เห็นกันในสื่อ เหตุการณ์ในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย ยังเกิดขึ้นทั้งโลกด้วย ทั้งประเทศทางยุโรปและประเทศญี่ปุ่น สาเหตุหลักเนื่องจากภาวะโลกร้อน ตอนนี้อุณหภูมิโลกเฉลี่ยสูงขึ้นประมาณ 1.1-1.5 องศา ทำให้การระเหยของน้ำมีปริมาณมากขึ้นควบแน่นเป็นก้อนเมฆที่ใหญ่ขึ้นจึงทำให้ฝนตกลงมาหนักขึ้นมากกว่าเมื่อก่อน มากเกินกว่าที่กลไกธรรมชาติจะรองรับได้เป็นเหตุทำให้เกิดเหตุการณ์ที่บ้านหินลาดในขึ้นมา https://www.hinladnai.com/wp-content/uploads/2024/09/att.tGYw7-JfPe5Owc5odf5APbS6PneZ7Npv4yv4qqLWeqg.mp4 หลังจากนี้เป็นต้นไปคาดการว่าปริมาณฝนน่าจะมีมากขึ้นทุกปีเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นจากการใช้ทรัพยากรด้วยความโลภของมนุษย์ในการตอบสนองความต้องการที่เกินกว่าความจำเป็น เพราะฉะนั้นเรื่องของสิ่งแวดล้อมจำเป็นที่ต้องทำเป็นลักษณะทุกที่ในวงกว้าง และเป็นเรื่องของคนทุกคน เพราะโลกใบนี้เป็นโลกของเราทุกคน และเป็นทั้งของสิ่งมีชีวิตอื่นๆนอกเหนือจากมนุษย์ด้วย อ้างอิงIPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change):https://www.ipcc.chNASA Climate Change:https://climate.nasa.govNOAA Global Climate […]

ทำไมถึงเกิดน้ำป่าไหลหลากที่หินลาดใน Read More »

หอเล่านิทาน

ห้องสมุดบ้านหินลาดใน เกิดขึ้นเพื่อเป็นที่พูดคุย เพราะเราบนโลกนี้คือพี่น้องกัน และเป็นครอบครัวเดียวกัน ดั่งเรื่องราว ข่อดึเดอ

หอเล่านิทาน Read More »

หอสมุดและห้องเล่านิทาน

เรื่องโดย Suddan Wisudthiluck ห้องเล่านิทานและห้องสมุดของบ้านห้วยหินลาดในรู้สึกยินดีและปลื้มใจมากที่มีโอกาสมาร่วมงานเปิด “ห้องเล่านิทานและห้องสมุด” ของบ้านห้วยหินลาดใน อำเภอเวียงป่าเป้าจังหวัดเชียงรายบ้านห้วยหินลาดในนี้ เป็นหมู่บ้านชาวปกาเกอะญอเล็กๆ มีชื่อเสียงในเรื่องของ “คนอยู่ป่า” และมีสายสัมพันธ์ลึกซึ้งของผู้คน ต้นข้าว ใบชา และน้ำผึ้ง ชุมชนนี้เป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นมานานนับ 10 ปีโดยการบุกเบิกของศาสตราจารย์ทักสึฮิโคะ คาวาชิม่าพิธีเปิด “ห้องเล่านิทานและห้องสมุด” เมื่อวานนี้ ยืนยันให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของชุมชนบ้านหินลาดในกับประเทศญี่ปุ่นที่ยังคงแน่นแฟ้น แม้ศาสตราจารย์ทักสึฮิโคะ คาวาชิม่าจะล่วงลับไปแล้ว (ภริยาของท่านได้มาเป็นผู้เปิดห้องสมุดนี้ และกล่าวไว้ว่า “ขอบคุณที่ยังคิดถึงอาจารย์คาวาชิม่า)ห้องเล่านิทานและห้องสมุดไม้หลังนี้ สร้างขึ้นข้างลำธารเล็ก ๆ ที่มีแนวคิดในการออกแบบน่าสนใจ ความตั้งใจของผู้สร้าง หวังจะให้เป็นพื้นที่ของเรื่องเล่า การเล่าเรื่องและแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและสื่อสารเรื่องราวของชุมชนกับโลกข้างนอกผู้ออกแบบเล่าให้ฟังว่า เขาได้แรงบันดาลใจและโดยอาศัยรูปแบบของรังผึ้งและลังเลี้ยงผึ้งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ”อาชีพ“ และวิถีชีวิตของคนในชุมชนเขาออกแบบให้ผนังประกอบด้วยช่องว่างเพื่อใช้จัดวางหนังสือและกล่องบรรจุใบชา ช่องหน้าต่างทุกบานของอาคารผลักเปิด-ปิดได้เพื่อการไหลเวียนของลม-แสงสว่าง และการปรับใช้ตามสถานการณ์ อาคารหลังนี้ยังมีทางขึ้นอีกด้านหนึ่งไปยังชานกลางแจ้งที่สร้างไว้เหนือลำธาร นอกจากจะเป็นมุมนั่งอ่านหนังสือหรือตั้งวงสนทนาเล็กๆ รอบเตาไฟในช่วงฤดูหนาว(ด้วยเหตุนี้ ผู้ออกแบบจึงให้ผนังด้านหนึ่งทำเป็นกำแพงกองฟืนเพื่อให้หยิบมาใช้ได้โดยสะดวก) จากพื้นที่บริเวณนี้สามารถเดินขึ้นไปยังชั้นสองของอาคารได้ความน่าสนใจในงานออกแบบของอาคารชั้นสองนี้ คือใช้วัสดุไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ แน่นอนว่ามีหน้าต่างที่เปิดปิดได้อย่างอิสระ เพื่อแปลงให้เป็นห้องเสวนาหรือฉายหนังได้ผู้ออกแบบเล่าให้ฟังว่า ด้วยเข้าใจในสัจจะของวัสดุที่มีอายุไม่นานนัก จึงออกแบบให้พื้นที่นี้รองรับ หากต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของวัสดุเป็นแบบอื่นๆได้ในภายหลัง เดิมทีจะมุงหลังคาด้วยใบค้อแบบดั้งเดิม แต่อาจจะยุ่งยากและเสียเวลาในการซ่อมแซมบ่อยๆ ทางชุมชนจึงตัดสินใจมุงด้วยกระเบื้อง (แต่เป็นกระเบื้องแบบที่นิยมในยุครอยต่อระหว่างกระเบื้องดินขอกับกระเบื้องลอนคู่)แต่ความคิดเรื่องการที่จะสร้างอาคารในแบบดั้งเดิมที่สะท้อนภูมิปัญญาของชุมชน ยังคงมีอยู่ซึ่งจะได้สร้างเป็นอาคารขนาดเล็กอีกหลังหนึ่งเพื่อใช้เป็น ”เรือนน้ำชา“ ตามอย่างแนวคิดการสร้างศาลเจ้าอิเสะ

หอสมุดและห้องเล่านิทาน Read More »

ต้นชาโบราณบ้านหินลาดใน

สมดุลป่าคนผึ้งและวัฒนธรรมการดื่มชา

 เรื่องราวของน้ำผึ้งและชาแห่งบ้านหินลาดใน  บ้านห้วยหินลาดในเป็นหมู่บ้านชาวปกาเกอะญอ มีพื้นที่ป่าที่ชาวบ้านช่วยกันดูแลเป็นพื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ ป่าบ้านห้วยหินลาดในเป็นเป็นป่าดิบแล้ง (ป่าไม่ผลัดใบ) สภาพป่าสมบูรณ์เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ที่หลากหลายและเป็นแหล่งต้นน้ำแม่ลาวที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ชุมชนหินลาดในมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีที่มีความผูกพันกับป่าที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ  ทำให้การจัดการทรัพยากรป่ามีความเคารพต่อวิถีธรรมชาติ  เน้นความสมดุลธรรมชาติอย่างยั่งยืน การดูแลป่าที่อาศัยการจัดการโดยใช้จารีต ประเพณี และวัฒนธรรม ด้วยวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับบริบทของระบบนิเวศป่านี้ ชาวบ้านจึงใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมและสมัยใหม่ผสมผสานกันแล้วจึงเลือกอาชีพที่รักษาความสมดุลระหว่างมนุษย์กับป่า มีการเรียนรู้ ทดลอง และพยายามปรับตัวโดยการมองหาการดำรงชีพที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและช่วยส่งเสริมให้ระบบนิเวศป่านั้นมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คำสุภาษิตโบราณที่ว่า “ออทีเก่อตอที เอาะก่อเก่อตอก่อ” แปลว่าดื่มน้ำรักษาน้ำ ใช้สรรพสิ่งดูแลสรรพสิ่ง ดังนั้นชาวบ้านจึงเลือกการเลี้ยงผึ้งป่ากับการปลูกชาแบบผสมผสานเป็นอาชีพที่หารายได้เป็นหลัก ชาธรรมชาติ “ชา” ส่วนมากจะมีอยู่แถบภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งทางชาวล้านนาจะรู้จักกินชาแบบเมี่ยงอม การอมเมี้ยงเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมของล้านนาสมัยก่อน ต้นชาหมู่บ้านหินลาดในมีมานานเนื่องจากที่นี่เป็นป่าชามาก่อน ซึ่งที่หินลาดในเดิมทีจะเก็บเป็นชาเมี้ยงก่อน และหลังจากนั้นมีคนจีนฮ่อเข้ามาสอนวิธีการเก็บ การแปรรูป และการดื่มชา ที่นี่จึงเริ่มมีวัฒนธรรมการดื่มชาเข้ามา ซึ่งในระยะเวลาดั่งกล่าวชาวบ้านจึงเริ่มมีการดูแลต้นชาอย่างจริงจังมากขึ้น เนื่องจากเกิดเป็นรายได้ให้กับชาวบ้านมากขึ้น โดยเริ่มจากการให้ต้นชาได้แดดมากขึ้นโดยการตัดแต่งกิ่งไม้บางต้นที่มีลักษณะใบทึบออกบางส่วน และมีการตัดหญ้าบริเวณรอบๆต้นชา เนื่องจากชาที่นี่เป็นชาพันธุ์อัสสัมซึ่งสามารถเติบโตใต้ร่มไม้ได้ดีทำให้ไม่จำเป็นต้องตัดต้นไม้ใหญ่ลง ต่อมาชาวบ้านมีการขยายจำนวนต้นชาโดยการนำเมล็ดมาหว่านเพิ่มเนื่องจากชาต้นแม่นั้นมีไม่มากพอ เราจึงเรียนรู้และพัฒนาชาตามยุคสมัยมาจนถึงยุคปัจจุบัน ณ ตอนนี้มีชาของชุมชนหินลาดในมีการแปรรูปอยู่สองแบบ คือ ชาเขียว (โดยกระบวนการคั่วในกระทะก่อนจากนั้นเอาไปนวดแล้วไปตากแห้ง) ชาดำ (ผึ่งลม นวด และตากแห้ง) ซึ่งชาในแต่ละฤดูกาลนั้น รสชาติ กลิ่น และสีจะต่างการออกไป ฤดูร้อน

สมดุลป่าคนผึ้งและวัฒนธรรมการดื่มชา Read More »

Thailand biennale กับหินลาดใน

ศิลปิน อริญชย์ รุ่งแจ้งเกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2518 พำนักและทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ ความเชื่อเป็นเหมือนสายลม, 2566อริญชย์ รุ่งแจ้ง สร้างสรรค์งานผ่านการผสานรวมประวัติศาสตร์ความทรงจำ ความเป็นวัตถสภาวะ และสิญลักษณ์ เข้าด้วยกัน อีกทังขยายขอบเขคการรับรู้ความเป็นจริงของมนุษย์ โดยการนำพา กระแลรองที่หามอนพาดผ่านกาลเวลา พื่นที่าษาอนหลากลาย บ่อยครั้งที่ผลงานของเขาได้นำเอาวัตถุทั้งหลายมาเป็นจุดตั้งต้นเรื่องราวส่วนตัว หรือเรื่องเล่าแบบเป็นทางการถูกเชื่อมประสานและเหตุการณ์ที่เหมือนห่างไกลก็กลับมาข้องสัมพันธ์กันได้ผ่านเวลาและพื้นที่ อริญชย์ทำงานผ่านสือที่มีความหลากหลาย ตังแต่งานวิดีโอไปจนถึงงานจัดวางเฉพาะพื้นที่ สำหรับงาน ไทยแลนด์ เบียนนาเล่ อริญชย์นำเสนอผลงานชื่อความเชื่อเป็นเหมือนสายลม งานจัดวางประติมากรรมเสียงทีสิบค้นลงไปสู่ความเข้าใจและการรับรู้ความเป็นจริง ประวัติศาสตร์และธรรมชาติที่เกียวโยงกับยุคสมัยแห่งวิกฤตินิเวศ อันเป็นผลจากการกระทำของมนุษย์ ผ่านการใช้โครงสร้างที่เอื่อให้เกิดการแสดงออกโดยธรรมชาติ ผลงานประกอบด้วยก้อนหินที่วางทับปลายเชือกสายสิญจน์ที่ห้อยแขวนระฆังลมไม้ไผ่จำนวนมากมายเมื่อผู้ชมเดินเข้าไปก็จะเกิดเสียงกระทบกันของไม้ไผ่ขับคลอ ด้วยเสียงร้องกล่อมลูกของหญิงชาวปกาเกอะญอจากชุมชน ห้วยหินลาดใน จังหวัดเชียงรายสนับสนุนโดย ไกรศักดิ์ แก้วพิหูล Arin RungjangBorn in Bangkok, 1975. Lives and works in Bangkok. Belief is Like the Wind, 2023 Arin Rungjang’s artistic practice intertwines

Thailand biennale กับหินลาดใน Read More »

การเดินทางจากห้วยหินลาดใน ถึงเกาะบอร์เนียว, โคตากินาบาลู

เดินทางจากห้วยหินลาดในถึงเกาะบอร์เนียว โคตากินาบาล ชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองบ้านห้วยหินลาดใน จังหวัดเชียงรายประเทศไทย เข้ารับรางวัลศูนย์ความเป็นเลิศในด้านหมู่บ้านปกครองตนเองในวันพิธีมอบรางวัลศูนย์ความเป็นเลิศได้จัดขึ้นในวันที่1ตุลาคม พ.ศ. 2566 โรงแรม Avangio เมืองโคตาคินาบาลู รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย ภาพชุมชนหินลาดในกับบ้านแก้วนูลู ในวันดังกล่าวซึ่งมีภาคีเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองนานาชาติได้มาร่วมงาน ซึ่งชุมชนที่ได้รับรางวัลโล่ประกอบไปด้วย 2 ชุมชน จากเอเชียที่มีการดำรงวิถีชีวิตอัตลักษณ์วัฒนธรรมแบบดั่งเดิมรวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติดินน้ำป่าในชุมชนของตนเองที่ยังคงอยู่เพื่อทอดแก่คนรุ่นหลังๆได้สืบต่อไป ชุมชนดังกล่าวประด้วย บ้านห้วยหินลาดใน hinladnai ชนเผ่าปกาเกอะญอและชุมชนบ้านแก้วนูลู Kampung kiau nuluh ชนเผ่าดูซูน ชนเผ่าที่มีการอนุรักษ์ป่าและสายน้ำแถบเทือกเขาโคตา คินาบาลู  ภาพขณะเล่าเรื่องราวของหินลาดในหลังรับรางวัล เยี่ยมชมหมู่บ้านแก้วนูลู ในวันถัดไปชุมชนห้วยหินลาดในได้ลงเยี่ยมชุมชนบ้านแก้วนูลู kampung kiau nuluh ชาวบ้านและเยาวชนพาเดินป่าเรียนรู้ชมธรรมชาติและพื้นที่แปลงการเกษตรที่ชาวบ้านอาศัยทำกินรวมถึงป่าชุมชนที่ชาวบ้านได้อนุรักษ์ไว้ รวมภาพการเยี่ยมชมหมู่บ้านแก้วนูลู https://www.hinladnai.com/wp-content/uploads/2023/10/384332145_7248053515229079_4078114926340305401_n.mp4 พ่อหลวงดวงดี ศิริ กำลังร้องลำนำที่มาเลเซีย ในการเดินทางแลกเปลี่ยนรู้ครั้งนี้ทางชุมชนห้วยหินลาดในขอบขอบคุณทีมงานlMPECT และAIPP คำกล่าวในวันรับรางวัล โดย นายประสิทธิ์ ศิริ ประวัติ และ การริเริ่มของหมู่บ้านห้วยหินลาดในบ้านห้วยหินลาดใน เป็นชุมชนชาติพันธุ์กระเหรี่ยง พวกเราเรียกตัวตนว่า ปกาเกอะญอ  หมู่บ้านห้วยหินลาดใน อยู่ในเขตตำบล บ้านโป่ง

การเดินทางจากห้วยหินลาดใน ถึงเกาะบอร์เนียว, โคตากินาบาลู Read More »

People Honey forest to product of hinladnai village

https://youtube.com/watch?v=CWm9jgb79PY&si=M3QOcWGjg0gZnysx Local Biodiversity Outlooks (LB0) presents perspectivesand experiences on the current social-ecological crisisfrom indigenous peoples and local communities aroundthe globe.This short film shows how the indigenous community ofPgaz K”‘Nyau in northern Thailand have created a thrivingsocial enterprise. The brand they have created aroundtheir products is not only used to sell their products, but isalso an

People Honey forest to product of hinladnai village Read More »

มะขม ผลไม้ป่ามหัศจรรย์ แห่งบ้านหินลาดใน

  มะขม เป็นไม้ยืนต้นที่ชอบพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้น อากาศเย็นและถ่ายเทสะดวก มีแสงส่องลงมากระทบรำเรรำไร โดยเฉพาะใต้ต้นไม้ใหญ่ที่มีความร่มรื่นต้นมะขมชื่นชอบเป็นอย่างมากๆ ชุมชนบ้านห้วยหินลาดใน มีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ ล้อมรอบด้วยต้นไม้ใหญ่นานาพรรณ พร้อมด้วยอากาศเย็นและมีความร่มรื่นมากๆ จึงเหมาะสมกับความต้องการของต้นมะขมส่งผลให้เจริญเติบโตได้ง่าย และเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว  ต้นมะขมจะเริ่มออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม จากนั้นก็เริ่มติดผล แล้วผลเริ่มแก่และร่วงลงช่วงเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม ช่วงนี้เองอาจถือได้ว่าเป็นฤดูแห่งการเก็บผลมะขมของชาวบ้านห้วยหินลาดในก็ว่าได้ บ้างก็เก็บมาเพื่อรับประทาน บ้างก็นำไปขาย บางทีมีพ่อค้าจากที่ต่างๆให้ความสนใจ เข้ามารับซื้อในชุมชนโดยรับซื้อทีละเป็นจำนวนมาก ผลมะขม ถือได้ว่าเป็นผลไม้ป่าที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้ดีเลยทีเดียว ซึ่งมีราคากิโลกรัมละ18-22 บาท ในส่วนของการนำมารับประทาน ชาวบ้านจะนำผลมะขมที่เก็บได้มาล้างเอาเปลือกและเยื่อรวมถึงผลที่เสียออก จากนั้นก็นำมาต้มจนสุกเพียงแค่นี้ผลมะขมต้มสุกก็พร้อมรับประทานแล้วละครับ บางบ้านก็นำเอาผลมะขมต้มสุกมาต้อนรับแขกพร้อมด้วยน้ำชาร้อนๆไปด้วย ถือเป็นของคู่กันได้ดีเลยครับ  ส่วนรสชาติของผลมะขมนั้น บางคนถึงขั้นทำสีหน้าไม่ถูกเลยครับหลังจากที่ได้ลิ้มลอง เพราะความขมขึ้นชื่อของมันนั่นเอง แต่สำหรับผู้คนที่คุ้นเคยกับรสชาติผลมะขมแล้ว นับว่าถูกปากและอร่อยถูกใจเป็นอย่างมาก 

มะขม ผลไม้ป่ามหัศจรรย์ แห่งบ้านหินลาดใน Read More »

อาบป่า

อาบป่า       อาบป่าหรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า”ชินรินโยคุ” หมายถึงกิจกรรมต่างๆ เช่น เดินป่า เดินป่า ปีนเขา และเดินเล่นในป่าคือการได้รับความรู้สึกสดชื่น ความเบิกบานใจ การเยียวยา ฯลฯ โดยใส่ตัวเองเข้าไป เมื่อคุณเดินเข้าไปในป่าคุณจะรู้สึกสดชื่น ความรู้สึกปลอดภัยสามารถรับได้ทางจิตใจและการเดิน ฯลฯ เมื่อรวมกับการเผาผลาญแคลอรี่เนื่องจากการออกกำลังกาย ระบบร่างกายเริ่มปรับเข้าสู่สภาวะสมดุลขึ้น ป่าทำให้ร่างกายอบอุ่น เกิดอาการผ่อนคลายจากน้ำมันระเหยของต้นไม้ที่ปล่อยออกมา อาการรู้สึกสดชื่นในป่าส่วนใหญ่เกิดจาก “อากาศในป่า” ต้นไม้กระจายอยู่ในป่าเต็มไปด้วยสารอะโรมาติกที่เรียกว่าสารไฟโตไซด์(Phytoncide)       ไฟตอนไซด์คือน้ำมันระเหยง่ายที่ต้นไม้ปล่อยออกมาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในอากาศ แต่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ บรรเทาความเครียดและผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ขณะที่มนุษย์หายใจขณะอาบป่าอากาศที่บริสุทธิ์เต็มไปด้วยไฟตอนไซด์ในป่าทำให้เลือดบริสุทธิ์และกระตุ้นการเผาผลาญอาหาร ทำให้ของเสียในร่างกายถูกขับออกได้ง่ายขึ้น จากนั้นภูมิคุ้มกันของร่างกายจะแข็งแกร่งขึ้นและทำงานได้ดีขึ้น คำอธิบายในทางวิทยาศาสตร์ว่าพลังบำบัดธรรมชาติในการรักษาความเจ็บป่วยและอาการบาดเจ็บนั้นได้กระตุ้นให้ร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่มาของคำว่าชินรินโยคุหรืออาบป่า     คำว่า อาบป่า ก่อตั้งขึ้นในปี 1982 โดยนายโทโมฮิเดะ อากิยามะ ผู้อำนวยการสำนักงานป่าไม้ สำนักงานป่าไม้ต้องการเพิ่มมูลค่าของป่าโดยให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นเยี่ยมชมและผ่อนคลาย     ในปีค.ศ.1992 อาจารย์มิยาซากิ โยชิฟูมิ ได้ทำการทดลองโดยการตรวจหาระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เกี่ยวข้องกับความเครียดในน้ำลาย เพื่อใช้วัดความเครียดและการผ่อนคลายและในที่สุดการอาบป่าจึงมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับในที่สุด อาจารย์มิยาซากิเคยพูดประเด็นที่น่าสนใจว่า “ประวัติศาสตร์ของมนุษย์กินเวลาประมาณ 7 ล้านปี และมนุษย์ใช้เวลาส่วนใหญ่ไป 99.99%

อาบป่า Read More »

ป่าในประเทศญี่ปุ่น

ป่าไม้ในประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยพื้นที่ 67% ของพื้นที่ทั้งหมดปกคลุมไปด้วยป่าไม้ กล่าวอีกนัยหนึ่งในแง่ของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศที่สวยงามและความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ จากมุมมองของอุตสาหกรรม อาจกล่าวได้ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ 50,000 ถึง 60,000 ปีที่แล้ว จนถึงยุคหินเก่า และยุคโจมง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผู้คนได้อยู่ร่วมกับคุณประโยชน์ของป่าและสร้างวัฒนธรรมจากไม้ ภูมิอากาศเฉพาะกับความหลากหลายของป่าไม้ในญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอทั่วประเทศ ทำให้เป็นสภาพอากาศที่เหมาะแก่การปลูกต้นไม้ กล่าวคือเป็นสภาพแวดล้อมที่ต้นไม้สามารถเติบโตได้ทุกที่ในประเทศ เมื่อมองในเชิงภูมิศาสตร์ของญี่ปุ่น มันทอดยาวจากเหนือจรดใต้และมีภูมิประเทศที่สูงชันและซับซ้อน สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์นี้ส่งผลให้เกิดสภาพอากาศ (โซน) ที่หลากหลายทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง และป่าไม้ (พันธุ์ไม้/ต้นไม้ ฯลฯ) ก็มีความหลากหลายตามสภาพอากาศ (โซน) ที่หลากหลาย ในแนวนอน มีภูมิอากาศที่หลากหลายตั้งแต่เขตกึ่งเขตร้อนของโอกินาว่าไปจนถึงเขตกึ่งอาร์กติกทางตะวันออกของฮอกไกโด และป่าไม้ (พันธุ์ไม้/ต้นไม้ ฯลฯ) ก็มีความหลากหลายเช่นกัน นอกจากนี้ เมื่อมองในแนวตั้ง ประเทศมีภูเขาสูง 3,000 เมตรในพื้นที่ดินแคบ และเนื่องจากภูมิประเทศที่สูงชัน สภาพภูมิอากาศจึงเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูง จากที่ราบลุ่มถึงเขตเทือกเขาแอลป์ และป่าไม้ (พืช/พรรณไม้) ฯลฯ) จะแตกต่างกันออกไป ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในมหาอำนาจด้านป่าไม้ชั้นนำของโลก ญี่ปุ่นมีพื้นที่ป่าประมาณ 25 ล้านเฮกตาร์ พื้นที่ป่า

ป่าในประเทศญี่ปุ่น Read More »

Scroll to Top