บทความภาษาไทย

ทำไมถึงเกิดน้ำป่าไหลหลากที่หินลาดใน

ทำไมถึงเกิดน้ำป่าไหลหลากที่หินลาดใน ต้นน้ำหินลาดในเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านที่นี่ป้องกันไฟป่าไม่ให้ไฟลามเข้ามาเป็นเวลาเกือบ 40 ปีติดต่อกัน ป่าจึงมีสภาพที่คล้ายๆฟองน้ำที่สามารถดูดซับปริมาณน้ำได้จำนวนมาก ประกอบกับต้นไม้ต้นใหญ่ๆมีเป็นจำนวนมากจึงสามารถคงเป็นสภาพที่เอื้อต่อการดูดซับน้ำได้อย่างดีตลอดหลายสิบปี เนื่องจากปีนี้ปริมาณน้ำฝนมีจำนวนมากขึ้นเมื่อเทียบจากปีก่อนหน้านี้ ประมาณเที่ยงคืนวันที่ 22 กันยายน 2567 ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักและตกติดต่อกันยาวนานไปจนถึงวันที่ 23 กันยายน 2567 และยังตกต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ (วันที่ 26 กันยายน 2567) จากเหตุที่ฝนตกหนักและนานทำให้ปริมาณน้ำฝนมหาศาลลงมากยังป่าต้นน้ำบ้านหินลาดใน เดิมทีที่แห่งนี้ก็เก็บซับน้ำไว้อยู่แล้วก่อนหน้านี้ประกอบกับฝนได้ตกต่อเนื่องอีกจึงทำให้ปริมาณน้ำเกินมากเกินกว่าที่ป่าแห่งนี้จะรับไหว จึงทำให้ต้นไม้ซึ่งมีน้ำหนักมาก ดินที่อุ้มน้ำจำนวนมาก และอยู่บนลักษณะลาดเอียง ในที่สุดจึงไหลลงมาทั้งดิน น้ำ และต้นไม้ เท่านี้ยังไม่พอยังไหลลงมากั้นทางน้ำอีกพอน้ำถูกกั้นก็สะสมปริมาณมากขึ้นจนทะลักออกมาในลักษณะคล้ายกับเขื่อนที่แตกลงมาจึงปรากฏภาพอย่างที่เห็นกันในสื่อ เหตุการณ์ในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย ยังเกิดขึ้นทั้งโลกด้วย ทั้งประเทศทางยุโรปและประเทศญี่ปุ่น สาเหตุหลักเนื่องจากภาวะโลกร้อน ตอนนี้อุณหภูมิโลกเฉลี่ยสูงขึ้นประมาณ 1.1-1.5 องศา ทำให้การระเหยของน้ำมีปริมาณมากขึ้นควบแน่นเป็นก้อนเมฆที่ใหญ่ขึ้นจึงทำให้ฝนตกลงมาหนักขึ้นมากกว่าเมื่อก่อน มากเกินกว่าที่กลไกธรรมชาติจะรองรับได้เป็นเหตุทำให้เกิดเหตุการณ์ที่บ้านหินลาดในขึ้นมา https://www.hinladnai.com/wp-content/uploads/2024/09/att.tGYw7-JfPe5Owc5odf5APbS6PneZ7Npv4yv4qqLWeqg.mp4 หลังจากนี้เป็นต้นไปคาดการว่าปริมาณฝนน่าจะมีมากขึ้นทุกปีเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นจากการใช้ทรัพยากรด้วยความโลภของมนุษย์ในการตอบสนองความต้องการที่เกินกว่าความจำเป็น เพราะฉะนั้นเรื่องของสิ่งแวดล้อมจำเป็นที่ต้องทำเป็นลักษณะทุกที่ในวงกว้าง และเป็นเรื่องของคนทุกคน เพราะโลกใบนี้เป็นโลกของเราทุกคน และเป็นทั้งของสิ่งมีชีวิตอื่นๆนอกเหนือจากมนุษย์ด้วย อ้างอิงIPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change):https://www.ipcc.chNASA Climate Change:https://climate.nasa.govNOAA Global Climate […]

ทำไมถึงเกิดน้ำป่าไหลหลากที่หินลาดใน Read More »

หอเล่านิทาน

ห้องสมุดบ้านหินลาดใน เกิดขึ้นเพื่อเป็นที่พูดคุย เพราะเราบนโลกนี้คือพี่น้องกัน และเป็นครอบครัวเดียวกัน ดั่งเรื่องราว ข่อดึเดอ

หอเล่านิทาน Read More »

ต้นชาโบราณบ้านหินลาดใน

สมดุลป่าคนผึ้งและวัฒนธรรมการดื่มชา

 เรื่องราวของน้ำผึ้งและชาแห่งบ้านหินลาดใน  บ้านห้วยหินลาดในเป็นหมู่บ้านชาวปกาเกอะญอ มีพื้นที่ป่าที่ชาวบ้านช่วยกันดูแลเป็นพื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ ป่าบ้านห้วยหินลาดในเป็นเป็นป่าดิบแล้ง (ป่าไม่ผลัดใบ) สภาพป่าสมบูรณ์เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ที่หลากหลายและเป็นแหล่งต้นน้ำแม่ลาวที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ชุมชนหินลาดในมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีที่มีความผูกพันกับป่าที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ  ทำให้การจัดการทรัพยากรป่ามีความเคารพต่อวิถีธรรมชาติ  เน้นความสมดุลธรรมชาติอย่างยั่งยืน การดูแลป่าที่อาศัยการจัดการโดยใช้จารีต ประเพณี และวัฒนธรรม ด้วยวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับบริบทของระบบนิเวศป่านี้ ชาวบ้านจึงใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมและสมัยใหม่ผสมผสานกันแล้วจึงเลือกอาชีพที่รักษาความสมดุลระหว่างมนุษย์กับป่า มีการเรียนรู้ ทดลอง และพยายามปรับตัวโดยการมองหาการดำรงชีพที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและช่วยส่งเสริมให้ระบบนิเวศป่านั้นมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คำสุภาษิตโบราณที่ว่า “ออทีเก่อตอที เอาะก่อเก่อตอก่อ” แปลว่าดื่มน้ำรักษาน้ำ ใช้สรรพสิ่งดูแลสรรพสิ่ง ดังนั้นชาวบ้านจึงเลือกการเลี้ยงผึ้งป่ากับการปลูกชาแบบผสมผสานเป็นอาชีพที่หารายได้เป็นหลัก ชาธรรมชาติ “ชา” ส่วนมากจะมีอยู่แถบภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งทางชาวล้านนาจะรู้จักกินชาแบบเมี่ยงอม การอมเมี้ยงเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมของล้านนาสมัยก่อน ต้นชาหมู่บ้านหินลาดในมีมานานเนื่องจากที่นี่เป็นป่าชามาก่อน ซึ่งที่หินลาดในเดิมทีจะเก็บเป็นชาเมี้ยงก่อน และหลังจากนั้นมีคนจีนฮ่อเข้ามาสอนวิธีการเก็บ การแปรรูป และการดื่มชา ที่นี่จึงเริ่มมีวัฒนธรรมการดื่มชาเข้ามา ซึ่งในระยะเวลาดั่งกล่าวชาวบ้านจึงเริ่มมีการดูแลต้นชาอย่างจริงจังมากขึ้น เนื่องจากเกิดเป็นรายได้ให้กับชาวบ้านมากขึ้น โดยเริ่มจากการให้ต้นชาได้แดดมากขึ้นโดยการตัดแต่งกิ่งไม้บางต้นที่มีลักษณะใบทึบออกบางส่วน และมีการตัดหญ้าบริเวณรอบๆต้นชา เนื่องจากชาที่นี่เป็นชาพันธุ์อัสสัมซึ่งสามารถเติบโตใต้ร่มไม้ได้ดีทำให้ไม่จำเป็นต้องตัดต้นไม้ใหญ่ลง ต่อมาชาวบ้านมีการขยายจำนวนต้นชาโดยการนำเมล็ดมาหว่านเพิ่มเนื่องจากชาต้นแม่นั้นมีไม่มากพอ เราจึงเรียนรู้และพัฒนาชาตามยุคสมัยมาจนถึงยุคปัจจุบัน ณ ตอนนี้มีชาของชุมชนหินลาดในมีการแปรรูปอยู่สองแบบ คือ ชาเขียว (โดยกระบวนการคั่วในกระทะก่อนจากนั้นเอาไปนวดแล้วไปตากแห้ง) ชาดำ (ผึ่งลม นวด และตากแห้ง) ซึ่งชาในแต่ละฤดูกาลนั้น รสชาติ กลิ่น และสีจะต่างการออกไป ฤดูร้อน

สมดุลป่าคนผึ้งและวัฒนธรรมการดื่มชา Read More »

การเดินทางจากห้วยหินลาดใน ถึงเกาะบอร์เนียว, โคตากินาบาลู

เดินทางจากห้วยหินลาดในถึงเกาะบอร์เนียว โคตากินาบาล ชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองบ้านห้วยหินลาดใน จังหวัดเชียงรายประเทศไทย เข้ารับรางวัลศูนย์ความเป็นเลิศในด้านหมู่บ้านปกครองตนเองในวันพิธีมอบรางวัลศูนย์ความเป็นเลิศได้จัดขึ้นในวันที่1ตุลาคม พ.ศ. 2566 โรงแรม Avangio เมืองโคตาคินาบาลู รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย ภาพชุมชนหินลาดในกับบ้านแก้วนูลู ในวันดังกล่าวซึ่งมีภาคีเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองนานาชาติได้มาร่วมงาน ซึ่งชุมชนที่ได้รับรางวัลโล่ประกอบไปด้วย 2 ชุมชน จากเอเชียที่มีการดำรงวิถีชีวิตอัตลักษณ์วัฒนธรรมแบบดั่งเดิมรวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติดินน้ำป่าในชุมชนของตนเองที่ยังคงอยู่เพื่อทอดแก่คนรุ่นหลังๆได้สืบต่อไป ชุมชนดังกล่าวประด้วย บ้านห้วยหินลาดใน hinladnai ชนเผ่าปกาเกอะญอและชุมชนบ้านแก้วนูลู Kampung kiau nuluh ชนเผ่าดูซูน ชนเผ่าที่มีการอนุรักษ์ป่าและสายน้ำแถบเทือกเขาโคตา คินาบาลู  ภาพขณะเล่าเรื่องราวของหินลาดในหลังรับรางวัล เยี่ยมชมหมู่บ้านแก้วนูลู ในวันถัดไปชุมชนห้วยหินลาดในได้ลงเยี่ยมชุมชนบ้านแก้วนูลู kampung kiau nuluh ชาวบ้านและเยาวชนพาเดินป่าเรียนรู้ชมธรรมชาติและพื้นที่แปลงการเกษตรที่ชาวบ้านอาศัยทำกินรวมถึงป่าชุมชนที่ชาวบ้านได้อนุรักษ์ไว้ รวมภาพการเยี่ยมชมหมู่บ้านแก้วนูลู https://www.hinladnai.com/wp-content/uploads/2023/10/384332145_7248053515229079_4078114926340305401_n.mp4 พ่อหลวงดวงดี ศิริ กำลังร้องลำนำที่มาเลเซีย ในการเดินทางแลกเปลี่ยนรู้ครั้งนี้ทางชุมชนห้วยหินลาดในขอบขอบคุณทีมงานlMPECT และAIPP คำกล่าวในวันรับรางวัล โดย นายประสิทธิ์ ศิริ ประวัติ และ การริเริ่มของหมู่บ้านห้วยหินลาดในบ้านห้วยหินลาดใน เป็นชุมชนชาติพันธุ์กระเหรี่ยง พวกเราเรียกตัวตนว่า ปกาเกอะญอ  หมู่บ้านห้วยหินลาดใน อยู่ในเขตตำบล บ้านโป่ง

การเดินทางจากห้วยหินลาดใน ถึงเกาะบอร์เนียว, โคตากินาบาลู Read More »

People Honey forest to product of hinladnai village

https://youtube.com/watch?v=CWm9jgb79PY&si=M3QOcWGjg0gZnysx Local Biodiversity Outlooks (LB0) presents perspectivesand experiences on the current social-ecological crisisfrom indigenous peoples and local communities aroundthe globe.This short film shows how the indigenous community ofPgaz K”‘Nyau in northern Thailand have created a thrivingsocial enterprise. The brand they have created aroundtheir products is not only used to sell their products, but isalso an

People Honey forest to product of hinladnai village Read More »

มะขม ผลไม้ป่ามหัศจรรย์ แห่งบ้านหินลาดใน

  มะขม เป็นไม้ยืนต้นที่ชอบพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้น อากาศเย็นและถ่ายเทสะดวก มีแสงส่องลงมากระทบรำเรรำไร โดยเฉพาะใต้ต้นไม้ใหญ่ที่มีความร่มรื่นต้นมะขมชื่นชอบเป็นอย่างมากๆ ชุมชนบ้านห้วยหินลาดใน มีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ ล้อมรอบด้วยต้นไม้ใหญ่นานาพรรณ พร้อมด้วยอากาศเย็นและมีความร่มรื่นมากๆ จึงเหมาะสมกับความต้องการของต้นมะขมส่งผลให้เจริญเติบโตได้ง่าย และเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว  ต้นมะขมจะเริ่มออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม จากนั้นก็เริ่มติดผล แล้วผลเริ่มแก่และร่วงลงช่วงเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม ช่วงนี้เองอาจถือได้ว่าเป็นฤดูแห่งการเก็บผลมะขมของชาวบ้านห้วยหินลาดในก็ว่าได้ บ้างก็เก็บมาเพื่อรับประทาน บ้างก็นำไปขาย บางทีมีพ่อค้าจากที่ต่างๆให้ความสนใจ เข้ามารับซื้อในชุมชนโดยรับซื้อทีละเป็นจำนวนมาก ผลมะขม ถือได้ว่าเป็นผลไม้ป่าที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้ดีเลยทีเดียว ซึ่งมีราคากิโลกรัมละ18-22 บาท ในส่วนของการนำมารับประทาน ชาวบ้านจะนำผลมะขมที่เก็บได้มาล้างเอาเปลือกและเยื่อรวมถึงผลที่เสียออก จากนั้นก็นำมาต้มจนสุกเพียงแค่นี้ผลมะขมต้มสุกก็พร้อมรับประทานแล้วละครับ บางบ้านก็นำเอาผลมะขมต้มสุกมาต้อนรับแขกพร้อมด้วยน้ำชาร้อนๆไปด้วย ถือเป็นของคู่กันได้ดีเลยครับ  ส่วนรสชาติของผลมะขมนั้น บางคนถึงขั้นทำสีหน้าไม่ถูกเลยครับหลังจากที่ได้ลิ้มลอง เพราะความขมขึ้นชื่อของมันนั่นเอง แต่สำหรับผู้คนที่คุ้นเคยกับรสชาติผลมะขมแล้ว นับว่าถูกปากและอร่อยถูกใจเป็นอย่างมาก 

มะขม ผลไม้ป่ามหัศจรรย์ แห่งบ้านหินลาดใน Read More »

ป่าในประเทศญี่ปุ่น

ป่าไม้ในประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยพื้นที่ 67% ของพื้นที่ทั้งหมดปกคลุมไปด้วยป่าไม้ กล่าวอีกนัยหนึ่งในแง่ของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศที่สวยงามและความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ จากมุมมองของอุตสาหกรรม อาจกล่าวได้ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ 50,000 ถึง 60,000 ปีที่แล้ว จนถึงยุคหินเก่า และยุคโจมง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผู้คนได้อยู่ร่วมกับคุณประโยชน์ของป่าและสร้างวัฒนธรรมจากไม้ ภูมิอากาศเฉพาะกับความหลากหลายของป่าไม้ในญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอทั่วประเทศ ทำให้เป็นสภาพอากาศที่เหมาะแก่การปลูกต้นไม้ กล่าวคือเป็นสภาพแวดล้อมที่ต้นไม้สามารถเติบโตได้ทุกที่ในประเทศ เมื่อมองในเชิงภูมิศาสตร์ของญี่ปุ่น มันทอดยาวจากเหนือจรดใต้และมีภูมิประเทศที่สูงชันและซับซ้อน สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์นี้ส่งผลให้เกิดสภาพอากาศ (โซน) ที่หลากหลายทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง และป่าไม้ (พันธุ์ไม้/ต้นไม้ ฯลฯ) ก็มีความหลากหลายตามสภาพอากาศ (โซน) ที่หลากหลาย ในแนวนอน มีภูมิอากาศที่หลากหลายตั้งแต่เขตกึ่งเขตร้อนของโอกินาว่าไปจนถึงเขตกึ่งอาร์กติกทางตะวันออกของฮอกไกโด และป่าไม้ (พันธุ์ไม้/ต้นไม้ ฯลฯ) ก็มีความหลากหลายเช่นกัน นอกจากนี้ เมื่อมองในแนวตั้ง ประเทศมีภูเขาสูง 3,000 เมตรในพื้นที่ดินแคบ และเนื่องจากภูมิประเทศที่สูงชัน สภาพภูมิอากาศจึงเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูง จากที่ราบลุ่มถึงเขตเทือกเขาแอลป์ และป่าไม้ (พืช/พรรณไม้) ฯลฯ) จะแตกต่างกันออกไป ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในมหาอำนาจด้านป่าไม้ชั้นนำของโลก ญี่ปุ่นมีพื้นที่ป่าประมาณ 25 ล้านเฮกตาร์ พื้นที่ป่า

ป่าในประเทศญี่ปุ่น Read More »

Scroll to Top