ข่าวสารจากชุมชน

ทำไมถึงเกิดน้ำป่าไหลหลากที่หินลาดใน

ทำไมถึงเกิดน้ำป่าไหลหลากที่หินลาดใน ต้นน้ำหินลาดในเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านที่นี่ป้องกันไฟป่าไม่ให้ไฟลามเข้ามาเป็นเวลาเกือบ 40 ปีติดต่อกัน ป่าจึงมีสภาพที่คล้ายๆฟองน้ำที่สามารถดูดซับปริมาณน้ำได้จำนวนมาก ประกอบกับต้นไม้ต้นใหญ่ๆมีเป็นจำนวนมากจึงสามารถคงเป็นสภาพที่เอื้อต่อการดูดซับน้ำได้อย่างดีตลอดหลายสิบปี เนื่องจากปีนี้ปริมาณน้ำฝนมีจำนวนมากขึ้นเมื่อเทียบจากปีก่อนหน้านี้ ประมาณเที่ยงคืนวันที่ 22 กันยายน 2567 ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักและตกติดต่อกันยาวนานไปจนถึงวันที่ 23 กันยายน 2567 และยังตกต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ (วันที่ 26 กันยายน 2567) จากเหตุที่ฝนตกหนักและนานทำให้ปริมาณน้ำฝนมหาศาลลงมากยังป่าต้นน้ำบ้านหินลาดใน เดิมทีที่แห่งนี้ก็เก็บซับน้ำไว้อยู่แล้วก่อนหน้านี้ประกอบกับฝนได้ตกต่อเนื่องอีกจึงทำให้ปริมาณน้ำเกินมากเกินกว่าที่ป่าแห่งนี้จะรับไหว จึงทำให้ต้นไม้ซึ่งมีน้ำหนักมาก ดินที่อุ้มน้ำจำนวนมาก และอยู่บนลักษณะลาดเอียง ในที่สุดจึงไหลลงมาทั้งดิน น้ำ และต้นไม้ เท่านี้ยังไม่พอยังไหลลงมากั้นทางน้ำอีกพอน้ำถูกกั้นก็สะสมปริมาณมากขึ้นจนทะลักออกมาในลักษณะคล้ายกับเขื่อนที่แตกลงมาจึงปรากฏภาพอย่างที่เห็นกันในสื่อ เหตุการณ์ในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย ยังเกิดขึ้นทั้งโลกด้วย ทั้งประเทศทางยุโรปและประเทศญี่ปุ่น สาเหตุหลักเนื่องจากภาวะโลกร้อน ตอนนี้อุณหภูมิโลกเฉลี่ยสูงขึ้นประมาณ 1.1-1.5 องศา ทำให้การระเหยของน้ำมีปริมาณมากขึ้นควบแน่นเป็นก้อนเมฆที่ใหญ่ขึ้นจึงทำให้ฝนตกลงมาหนักขึ้นมากกว่าเมื่อก่อน มากเกินกว่าที่กลไกธรรมชาติจะรองรับได้เป็นเหตุทำให้เกิดเหตุการณ์ที่บ้านหินลาดในขึ้นมา https://www.hinladnai.com/wp-content/uploads/2024/09/att.tGYw7-JfPe5Owc5odf5APbS6PneZ7Npv4yv4qqLWeqg.mp4 หลังจากนี้เป็นต้นไปคาดการว่าปริมาณฝนน่าจะมีมากขึ้นทุกปีเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นจากการใช้ทรัพยากรด้วยความโลภของมนุษย์ในการตอบสนองความต้องการที่เกินกว่าความจำเป็น เพราะฉะนั้นเรื่องของสิ่งแวดล้อมจำเป็นที่ต้องทำเป็นลักษณะทุกที่ในวงกว้าง และเป็นเรื่องของคนทุกคน เพราะโลกใบนี้เป็นโลกของเราทุกคน และเป็นทั้งของสิ่งมีชีวิตอื่นๆนอกเหนือจากมนุษย์ด้วย อ้างอิงIPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change):https://www.ipcc.chNASA Climate Change:https://climate.nasa.govNOAA Global Climate […]

ทำไมถึงเกิดน้ำป่าไหลหลากที่หินลาดใน Read More »

หอเล่านิทาน

ห้องสมุดบ้านหินลาดใน เกิดขึ้นเพื่อเป็นที่พูดคุย เพราะเราบนโลกนี้คือพี่น้องกัน และเป็นครอบครัวเดียวกัน ดั่งเรื่องราว ข่อดึเดอ

หอเล่านิทาน Read More »

Thailand biennale กับหินลาดใน

ศิลปิน อริญชย์ รุ่งแจ้งเกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2518 พำนักและทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ ความเชื่อเป็นเหมือนสายลม, 2566อริญชย์ รุ่งแจ้ง สร้างสรรค์งานผ่านการผสานรวมประวัติศาสตร์ความทรงจำ ความเป็นวัตถสภาวะ และสิญลักษณ์ เข้าด้วยกัน อีกทังขยายขอบเขคการรับรู้ความเป็นจริงของมนุษย์ โดยการนำพา กระแลรองที่หามอนพาดผ่านกาลเวลา พื่นที่าษาอนหลากลาย บ่อยครั้งที่ผลงานของเขาได้นำเอาวัตถุทั้งหลายมาเป็นจุดตั้งต้นเรื่องราวส่วนตัว หรือเรื่องเล่าแบบเป็นทางการถูกเชื่อมประสานและเหตุการณ์ที่เหมือนห่างไกลก็กลับมาข้องสัมพันธ์กันได้ผ่านเวลาและพื้นที่ อริญชย์ทำงานผ่านสือที่มีความหลากหลาย ตังแต่งานวิดีโอไปจนถึงงานจัดวางเฉพาะพื้นที่ สำหรับงาน ไทยแลนด์ เบียนนาเล่ อริญชย์นำเสนอผลงานชื่อความเชื่อเป็นเหมือนสายลม งานจัดวางประติมากรรมเสียงทีสิบค้นลงไปสู่ความเข้าใจและการรับรู้ความเป็นจริง ประวัติศาสตร์และธรรมชาติที่เกียวโยงกับยุคสมัยแห่งวิกฤตินิเวศ อันเป็นผลจากการกระทำของมนุษย์ ผ่านการใช้โครงสร้างที่เอื่อให้เกิดการแสดงออกโดยธรรมชาติ ผลงานประกอบด้วยก้อนหินที่วางทับปลายเชือกสายสิญจน์ที่ห้อยแขวนระฆังลมไม้ไผ่จำนวนมากมายเมื่อผู้ชมเดินเข้าไปก็จะเกิดเสียงกระทบกันของไม้ไผ่ขับคลอ ด้วยเสียงร้องกล่อมลูกของหญิงชาวปกาเกอะญอจากชุมชน ห้วยหินลาดใน จังหวัดเชียงรายสนับสนุนโดย ไกรศักดิ์ แก้วพิหูล Arin RungjangBorn in Bangkok, 1975. Lives and works in Bangkok. Belief is Like the Wind, 2023 Arin Rungjang’s artistic practice intertwines

Thailand biennale กับหินลาดใน Read More »

การเดินทางจากห้วยหินลาดใน ถึงเกาะบอร์เนียว, โคตากินาบาลู

เดินทางจากห้วยหินลาดในถึงเกาะบอร์เนียว โคตากินาบาล ชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองบ้านห้วยหินลาดใน จังหวัดเชียงรายประเทศไทย เข้ารับรางวัลศูนย์ความเป็นเลิศในด้านหมู่บ้านปกครองตนเองในวันพิธีมอบรางวัลศูนย์ความเป็นเลิศได้จัดขึ้นในวันที่1ตุลาคม พ.ศ. 2566 โรงแรม Avangio เมืองโคตาคินาบาลู รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย ภาพชุมชนหินลาดในกับบ้านแก้วนูลู ในวันดังกล่าวซึ่งมีภาคีเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองนานาชาติได้มาร่วมงาน ซึ่งชุมชนที่ได้รับรางวัลโล่ประกอบไปด้วย 2 ชุมชน จากเอเชียที่มีการดำรงวิถีชีวิตอัตลักษณ์วัฒนธรรมแบบดั่งเดิมรวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติดินน้ำป่าในชุมชนของตนเองที่ยังคงอยู่เพื่อทอดแก่คนรุ่นหลังๆได้สืบต่อไป ชุมชนดังกล่าวประด้วย บ้านห้วยหินลาดใน hinladnai ชนเผ่าปกาเกอะญอและชุมชนบ้านแก้วนูลู Kampung kiau nuluh ชนเผ่าดูซูน ชนเผ่าที่มีการอนุรักษ์ป่าและสายน้ำแถบเทือกเขาโคตา คินาบาลู  ภาพขณะเล่าเรื่องราวของหินลาดในหลังรับรางวัล เยี่ยมชมหมู่บ้านแก้วนูลู ในวันถัดไปชุมชนห้วยหินลาดในได้ลงเยี่ยมชุมชนบ้านแก้วนูลู kampung kiau nuluh ชาวบ้านและเยาวชนพาเดินป่าเรียนรู้ชมธรรมชาติและพื้นที่แปลงการเกษตรที่ชาวบ้านอาศัยทำกินรวมถึงป่าชุมชนที่ชาวบ้านได้อนุรักษ์ไว้ รวมภาพการเยี่ยมชมหมู่บ้านแก้วนูลู https://www.hinladnai.com/wp-content/uploads/2023/10/384332145_7248053515229079_4078114926340305401_n.mp4 พ่อหลวงดวงดี ศิริ กำลังร้องลำนำที่มาเลเซีย ในการเดินทางแลกเปลี่ยนรู้ครั้งนี้ทางชุมชนห้วยหินลาดในขอบขอบคุณทีมงานlMPECT และAIPP คำกล่าวในวันรับรางวัล โดย นายประสิทธิ์ ศิริ ประวัติ และ การริเริ่มของหมู่บ้านห้วยหินลาดในบ้านห้วยหินลาดใน เป็นชุมชนชาติพันธุ์กระเหรี่ยง พวกเราเรียกตัวตนว่า ปกาเกอะญอ  หมู่บ้านห้วยหินลาดใน อยู่ในเขตตำบล บ้านโป่ง

การเดินทางจากห้วยหินลาดใน ถึงเกาะบอร์เนียว, โคตากินาบาลู Read More »

มะขม ผลไม้ป่ามหัศจรรย์ แห่งบ้านหินลาดใน

  มะขม เป็นไม้ยืนต้นที่ชอบพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้น อากาศเย็นและถ่ายเทสะดวก มีแสงส่องลงมากระทบรำเรรำไร โดยเฉพาะใต้ต้นไม้ใหญ่ที่มีความร่มรื่นต้นมะขมชื่นชอบเป็นอย่างมากๆ ชุมชนบ้านห้วยหินลาดใน มีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ ล้อมรอบด้วยต้นไม้ใหญ่นานาพรรณ พร้อมด้วยอากาศเย็นและมีความร่มรื่นมากๆ จึงเหมาะสมกับความต้องการของต้นมะขมส่งผลให้เจริญเติบโตได้ง่าย และเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว  ต้นมะขมจะเริ่มออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม จากนั้นก็เริ่มติดผล แล้วผลเริ่มแก่และร่วงลงช่วงเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม ช่วงนี้เองอาจถือได้ว่าเป็นฤดูแห่งการเก็บผลมะขมของชาวบ้านห้วยหินลาดในก็ว่าได้ บ้างก็เก็บมาเพื่อรับประทาน บ้างก็นำไปขาย บางทีมีพ่อค้าจากที่ต่างๆให้ความสนใจ เข้ามารับซื้อในชุมชนโดยรับซื้อทีละเป็นจำนวนมาก ผลมะขม ถือได้ว่าเป็นผลไม้ป่าที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้ดีเลยทีเดียว ซึ่งมีราคากิโลกรัมละ18-22 บาท ในส่วนของการนำมารับประทาน ชาวบ้านจะนำผลมะขมที่เก็บได้มาล้างเอาเปลือกและเยื่อรวมถึงผลที่เสียออก จากนั้นก็นำมาต้มจนสุกเพียงแค่นี้ผลมะขมต้มสุกก็พร้อมรับประทานแล้วละครับ บางบ้านก็นำเอาผลมะขมต้มสุกมาต้อนรับแขกพร้อมด้วยน้ำชาร้อนๆไปด้วย ถือเป็นของคู่กันได้ดีเลยครับ  ส่วนรสชาติของผลมะขมนั้น บางคนถึงขั้นทำสีหน้าไม่ถูกเลยครับหลังจากที่ได้ลิ้มลอง เพราะความขมขึ้นชื่อของมันนั่นเอง แต่สำหรับผู้คนที่คุ้นเคยกับรสชาติผลมะขมแล้ว นับว่าถูกปากและอร่อยถูกใจเป็นอย่างมาก 

มะขม ผลไม้ป่ามหัศจรรย์ แห่งบ้านหินลาดใน Read More »

Scroll to Top