เดินทางจากห้วยหินลาดในถึงเกาะบอร์เนียว โคตากินาบาล
ชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองบ้านห้วยหินลาดใน จังหวัดเชียงรายประเทศไทย เข้ารับรางวัลศูนย์ความเป็นเลิศในด้านหมู่บ้านปกครองตนเองในวันพิธีมอบรางวัลศูนย์ความเป็นเลิศได้จัดขึ้นในวันที่1ตุลาคม พ.ศ. 2566 โรงแรม Avangio เมืองโคตาคินาบาลู รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย
ภาพชุมชนหินลาดในกับบ้านแก้วนูลู
ในวันดังกล่าวซึ่งมีภาคีเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองนานาชาติได้มาร่วมงาน ซึ่งชุมชนที่ได้รับรางวัลโล่ประกอบไปด้วย 2 ชุมชน จากเอเชียที่มีการดำรงวิถีชีวิตอัตลักษณ์วัฒนธรรมแบบดั่งเดิมรวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติดินน้ำป่าในชุมชนของตนเองที่ยังคงอยู่เพื่อทอดแก่คนรุ่นหลังๆได้สืบต่อไป ชุมชนดังกล่าวประด้วย บ้านห้วยหินลาดใน hinladnai ชนเผ่าปกาเกอะญอและชุมชนบ้านแก้วนูลู Kampung kiau nuluh ชนเผ่าดูซูน ชนเผ่าที่มีการอนุรักษ์ป่าและสายน้ำแถบเทือกเขาโคตา คินาบาลู
ภาพขณะเล่าเรื่องราวของหินลาดในหลังรับรางวัล
เยี่ยมชมหมู่บ้านแก้วนูลู
ในวันถัดไปชุมชนห้วยหินลาดในได้ลงเยี่ยมชุมชนบ้าน
แก้วนูลู kampung kiau nuluh ชาวบ้านและเยาวชนพาเดินป่าเรียนรู้ชมธรรมชาติและพื้นที่แปลงการเกษตรที่ชาวบ้านอาศัยทำกินรวมถึงป่าชุมชนที่ชาวบ้านได้อนุรักษ์ไว้
รวมภาพการเยี่ยมชมหมู่บ้านแก้วนูลู
พ่อหลวงดวงดี ศิริ กำลังร้องลำนำที่มาเลเซีย
ในการเดินทางแลกเปลี่ยนรู้ครั้งนี้ทางชุมชนห้วยหินลาดในขอบขอบคุณทีมงานlMPECT และAIPP
คำกล่าวในวันรับรางวัล
โดย นายประสิทธิ์ ศิริ
ประวัติ และ การริเริ่มของหมู่บ้านห้วยหินลาดใน
บ้านห้วยหินลาดใน เป็นชุมชนชาติพันธุ์กระเหรี่ยง พวกเราเรียกตัวตนว่า ปกาเกอะญอ หมู่บ้านห้วยหินลาดใน อยู่ในเขตตำบล บ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่บนหุบเขากลางป่า ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นพื้นป่าดิบเขา พื้นที่ปัจจุบัน เป็นพื้นที่ทางกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนชั้น 1 A โดยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 18,000 ไร่ มีประชากร 115 คน จำนวน 22 หลังคาเรือน คนในหมู่บ้านประกอบอาชีพหลักคือ ทำไร่หมุนเวียน ทำนา และสวนวนเกษตร(สวนชา) ส่วนอาชีพรองคืออาชีพที่มีรายได้จากการพึ่งพาผลประโยชน์จากป่า เช่น การขายหน่อไม้ น้ำผึ้ง หางหวายเป็นต้น
ความเชื่อและวัฒนธรรม
บ้านห้วยหินลาดใน ยังคงมีความเชื่อแบบดั้งเดิม ทั้งด้านการเคารพสรรพสิ่ง หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เคารพเจ้าป่า เจ้าเขา โดยได้ปฎิบัติพิธีกรรมทั้งในชุมชน ในป่า และพื้นที่ทำกิน อีกทั้งที่สถานที่ที่พวกเราเคารพและบูชาด้วย
บทบาทหน้าที่ของคนในชุมชน
ผู้เฒ่าผู้แก่เป็นผู้ใช้ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมในการดูแลรักษาผืนป่า อีกทั้งมีการถ่ายทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม องค์ความรู้แก่คนรุ่นหลัง เยาวชนถือเป็นอีกแรงหนึ่งที่สำคัญของชุมชน เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก และเป็นผู้สืบสานวัฒนธรรมเพื่อถ่ายทอดแก่คนรุ่นหลังต่อไป ในส่วนบทบาทของผู้หญิง สำหรั่บชุมชนของเรา เราถือว่า ผู้หญิงเป็นเจ้าของบ้าน เพราะเป็นคนที่ต้องดูแลทุกสิ่งทุกอย่างในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดูลูก การเลี้ยงสัตว์ การสืบทอดภูมิปัญญาในการทอผ้า การย้อมสี นอกจากนี้ หน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของผู้หญิง คือการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ ซึ่งถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน
ความสำเร็จ
บ้านห้วยหินลาดใน ถือเป็นชุมชนที่สามารถจัดการชุมชนและทรัพยากรได้ด้วยตัวเอง และยังได้รับการประกาศเป็นพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ ตามเงื่อนไขของ มติ ครม. 3 สิงหาคม 2553
ในนามของชุมชนบ้านห้วยหินลาดใน เราขอขอบคุณ เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สมาคมอิมเปค AIPP และองค์กรภาคเครือข่ายอื่นๆ มีได้ให้การสนับสนุน จนทำให้บ้านห้วยหินลาดในได้รับการยอมรับจากหลายๆภาคส่วน ทำให้เรายังคงสามารถดำรงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมของบรรพบุรุษปกาเกอะญอได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
The Speech of Huay Hin Lad Nai village Given
by Mr. Prasit Siri, commitee leader
History and initiatives of Huai Hin Lad Nai Village
Huay Hin Lad Nai village is a Karen indigenous ethnic group. We call ourselves as Pgakenyaw. This village located in Banpong sub-district, Wiang Pa Pao district, Chiang Rai province and located on a valley in the middle of the forest. The geographical area is a mountain evergreen forest area. Huay Hin Lad Nai village located in a national forest reservation area, class 1A. With a total area of approximately 18,000 rai or 7116. 63 acres, there is a population of 115 people and 22 households. Main occupation of people in the village is rotational farming, rice farming, and agroforestry (tea plantations). Secondary occupations are occupations that earn income by relying on benefits from the forest, such as selling bamboo shoots, honey, rattan tails, etc.
Beliefs and culture
Huai Hin Lad Nai village still have traditional beliefs. Both aspects of respecting things or sacred things, respecting the forest and mountain gods by performing rituals in the community, in the forest, and ifarming areas Also at all places that we respect and worship.
Roles and duties of people in the community
The Elders are the ones who use their wisdom, livelihood, and culture to take care of the forest. In addition, wisdom, culture, and knowledge are passed on to future generations. Youth are another important group in the community. The youth have the role of being an intermediary between the children and the elders and they are the inheritors of culture to pass on to future generations. About the role of women, in our community, we consider women as homeowners. Because the women are persons who taking care of everything in the household such as taking care of child or children, raising animal, inheriting the wisdom of weaving, dyeing. There is also another important duty of women is to store seeds which is considered the cultural heritage of the community.
Achievements
Huay Hin Lad Nai village is considered as a community that can manage the community and its resources by itself. It has also been declared as a special cultural area according to the conditions of the Cabinet resolution of 3 August 2010
On behalf of the Huai Hin Lat Nai community, we would like to thank the Northern Farmers Network, Northern Farmers Federation, The Karen Network for Culture and Environment (KNCE), The IMPECT Association, AIPP and other network organizations. Those have been supported us. So Huai Hin Lad Nai villages is accepted by many sectors. This allows us able to continue to maintain the traditional livelihood and culture of our Pgakenyaw ancestors in a stable and sustainable manner.